หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสวัสดิการสังคม Doctor of Philosophy (Ph.D.)
หลักสูตรระดับปริญญาเอก
ชื่อหลักสูตร หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสวัสดิการสังคม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2562)
ชื่อปริญญา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) การบริหารสวัสดิการสังคม Doctor of Philosophy (Ph.D.) Social Welfare Administration
วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร
วิชาเอกสาขาการบริหารสวัสดิการสังคม เป็นหลักสูตรผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความพร้อมในการสร้างสรรค์การบริหารและการพัฒนานโยบายสวัสดิการสังคม เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ สามารถพัฒนาองค์ความรู้โดยการวิจัยค้นคว้าในระดับสูง และมีคุณลักษณะของความเป็นผู้รู้แบบบูรณาการเพื่อการเป็นผู้นำในการพัฒนาสังคม ประเทศชาติสู่ระดับสากล
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร
1) รูปแบบ
เป็นหลักสูตรระดับปริญญาเอก ระยะเวลาศึกษา 3 ปีการศึกษา แต่ไม่เกิน 6 ปีการศึกษา โดยแบ่งการจัดการศึกษาเป็น 2 รูปแบบคือ
แบบ 1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการทำดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต ภายใต้การให้คำปรึกษาของที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ที่หลักสูตรเป็นผู้แต่งตั้ง
แบบ 2 เป็นแผนการศึกษาที่มีการเรียนการสอนวิชาเสริมพื้นฐาน วิชาบังคับ วิชาเลือก และทำดุษฎีนิพนธ์รวมทั้งสิ้น 48 หน่วยกิต (ภายใต้เงื่อนไขที่จำนวนนักศึกษาครบตามจำนวนที่มหาวิทยาลัยกำหนด)
2) ภาษาที่ใช้
จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เช่นเดียวกับเอกสารและตำราประกอบการเรียนการสอนเป็นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ดุษฎีนิพนธ์เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ หากจะเขียนเป็นภาษาอื่นต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสวัสดิการสังคม
3) การรับเข้าศึกษา
รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่สามารถพูด ฟัง อ่าน เขียน และเข้าใจภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี
ผลลัพธ์การเรียนรู้ (PLOs) หลักสูตร ปร.ด.
PLO 1. สามารถเป็นผู้นำทางวิชาการ มีความรู้ด้านการบริหารสวัสดิการสังคม และมีโลกทัศน์กว้างไกล
PLO 2. แสดงออกซึ่งความมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณธรรม 6 ประการของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
PLO 3. สามารถคิด ริเริ่ม สร้างสรรค์ วิเคราะห์ สังเคราะห์ประเด็นปัญหาและพัฒนาการบริหารสวัสดิการสังคมให้เท่าทันสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในยุคศตวรรษที่ 21
PLO 4. มีความเชี่ยวชาญการวิจัย สามารถสร้างหรือเพิ่มพูนองค์ความรู้ที่ก่อให้เกิดคุณประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติ และนานาชาติ
PLO 5. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร การแสวงหาความรู้ การจัดเก็บ การประมวลผล ข้อมูล และการนำเสนอ
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1) อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2) ผู้เชี่ยวชาญ/นักวิชาการ/นักวิจัย/นักบริหาร/นักวิเคราะห์นโยบายและแผนในหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
3) ผู้เชี่ยวชาญ/นักวิชาการ/นักวิจัย/นักบริหารในองค์กรสาธารณประโยชน์ ภาคประชาชน และภาคธุรกิจ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
4) นักวิจัย/นักวิชาการอิสระ
5) ผู้บริหารองค์กร/หน่วยงาน
การดำเนินการของหลักสูตร
1) วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น.
ภาคการศึกษาที่ 1 สิงหาคม – ธันวาคม
ภาคการศึกษาที่ 2 มกราคม – พฤษภาคม
2) คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
คุณสมบัติทั่วไปของผู้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษา
1) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า ไม่จำกัดสาขาจากสถาบันการศึกษาภายในประเทศหรือ ต่างประเทศที่สำนักงาน ก.พ. รับรอง โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาโทไม่ต่ำกว่า 3.50
2) กรณีที่ผู้สมัครได้คะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาโทต่ำกว่า 3.50 แต่มีคุณสมบัติอื่นที่เหมาะสม โดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ และมีหลักฐานรับรองคุณสมบัติที่เชื่อถือได้อย่างชัดเจน ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสวัสดิการสังคม
คุณสมบัติเฉพาะของผู้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษาแบบ 1
1) เป็นอาจารย์ นักวิจัย หรือมีประสบการณ์ทำงานด้านสวัสดิการสังคมหรือสังคมสงเคราะห์ไม่น้อยกว่า 3 ปี
2) มีประสบการณ์โดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ซึ่งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสวัสดิการสังคมมีมติให้รับเข้าศึกษา
คุณสมบัติเฉพาะของผู้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษาแบบ 2
1) มีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยด้านสวัสดิการสังคมหรือสังคมสงเคราะห์ทั้งในฐานะผู้ช่วยและหรือหัวหน้าโครงการวิจัย
2) มีหลักฐานรับรองคุณสมบัติที่เชื่อถือได้อย่างชัดเจน
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 453,600 บาท