หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สส.ม. / M.S.W.

หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสวัสดิการสังคม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

  1. ชื่อหลักสูตร
    รหัสหลักสูตร 25560731103276
    ภาษาไทย หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารสวัสดิการสังคม
    ภาษาอังกฤษ Master of Social Work Program in Social Welfare Administration
  2. ชื่อปริญญา และสาขาวิชา
    ชื่อภาษาไทย ชื่อเต็ม สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารสวัสดิการสังคม)
    ชื่อย่อ สส.ม. (การบริหารสวัสดิการสังคม)
    ชื่อภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม Master of Social Work (Social Welfare Administration)
    ชื่อย่อ M.S.W. (Social Welfare Administration)
  3. วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร
    วิชาเอกสาขาการบริหารสวัสดิการสังคม เป็นหลักสูตรผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ ในการบริหารสวัสดิการสังคม มีความเป็นเลิศทางวิชาการ สามารถพัฒนาองค์ความรู้โดยการวิจัยค้นคว้า และมีคุณลักษณะของความสามารถในการพัฒนาระบบ มาตรการ กลไก และการประกันคุณภาพการจัดสวัสดิการสังคมส าหรับกลุ่มเป้าหมายที่ควรได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษ
  4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
    ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
  5. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังส าเร็จการศึกษา
    1) อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาด้านสังคม
    2) นักวิชาการ/ นักวิจัยและประเมินผล/ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน/ นักบริหารด้านสังคมในหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถาบันการศึกษา
    3) นักวิชาการ/ นักวิจัยและประเมินผล/ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน/ นักบริหารด้านสังคมในหน่วยงานภาคธุรกิจ มูลนิธิ สมาคม องค์กรสาธารณประโยชน์ หรือองค์กรภาคประชาสังคมและองค์การระหว่างประเทศ ด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์
    4) ศึกษาต่อระดับปริญญาเอกสาขาการบริหารงานสวัสดิการสังคม หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
  6. การดำเนินการหลักสูตร
    ระยะเวลาการศึกษา
    วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น.
    – ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนสิงหาคม – เดือนธันวาคม
    – ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนมกราคม – เดือนพฤษภาคม
    – ภาคฤดูร้อน เดือนมิถุนายน – เดือนกรกฎาคม
    นักศึกษาสามารถสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรได้ภายใน 2 ปีการศึกษา และจะได้รับปริญญามหาบัณฑิตเมื่อสำเร็จหลักสูตรภายในเวลาไม่เกิน 5 ปี ทั้งนี้ให้นับจากภาคการศึกษาแรกที่ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา
  7. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
    7.1) แผน ก แบบ ก 1
    1) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิตจากสถาบันการศึกษาภายในประเทศ หรือ ต่างประเทศที่สำนักงาน กพ. รับรอง
    2) มีประสบการณ์ทำงานทางสังคมอย่างน้อย 2 ปี หรือมีประสบการณ์การทำงานวิจัย
    3) ผ่านการสอบคัดเลือกตามระบบของมหาวิทยาลัย
    4) มีสุขภาพแข็งแรง และผ่านการตรวจสุขภาพตามหลักเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย
    5) สามารถเข้าเรียนตามหลักสูตรกำหนดได้ไม่น้อยกว่าภาคการศึกษาละร้อยละ 80 ของเวลาเรียน
    6) ผู้ที่มีประสบการณ์ปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์วิชาชีพ 5 ปีขึ้นไป จะได้รับพิจารณาเทียบโอนรายวิชาฝึกภาคปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานที่หลักสูตรกำหนด
    7.2) แผน ก แบบ ก 2 และ แผน ข
    1) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ไม่จำกัดสาขาจากสถาบันการศึกษาภายในประเทศ หรือ ต่างประเทศที่สำนักงาน กพ. รับรอง
    2) ผ่านการสอบคัดเลือกตามระบบของมหาวิทยาลัย
    3) มีสุขภาพแข็งแรง และผ่านการตรวจสุขภาพตามหลักเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย
    4) สามารถเข้าเรียนตามหลักสูตรกำหนดได้ไม่น้อยกว่าภาคการศึกษาร้อยละ 80 ของเวลาเรียน
    5) ผู้ที่มีประสบการณ์ปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์วิชาชีพ 5 ปีขึ้นไป จะได้รับพิจารณาเทียบ
  8. ค่าใช้จ่ายในการศึกษา ประมาณ 200,000 บาท
  9. การเรียนการสอน
    1) แผน ก แบบ ก 1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยมีการทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งเทียบค่าได้ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
    2) แผน ก แบบ ก 2 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยมีการทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งเทียบค่าได้ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
    3) แผน ข เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการศึกษารายวิชา โดยไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์ นักศึกษาต้องลงทะเบียนรายวิชาการศึกษาอิสระ จำนวน 3 หน่วยกิต และต้องสอบประมวลความรู้ข้อเขียนและปากเปล่า

ผลลัพธ์การเรียนรู้ (PLOs) หลักสูตร ปร.ด.

PLO 1. สามารถเป็นผู้นำทางวิชาการ มีความรู้ด้านการบริหารสวัสดิการสังคม และมีโลกทัศน์กว้างไกล
PLO 2. แสดงออกซึ่งความมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณธรรม 6 ประการของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
PLO 3.  สามารถคิด ริเริ่ม สร้างสรรค์ วิเคราะห์ สังเคราะห์ประเด็นปัญหาและพัฒนาการบริหารสวัสดิการสังคมให้เท่าทันสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในยุคศตวรรษที่ 21
PLO 4. มีความเชี่ยวชาญการวิจัย สามารถสร้างหรือเพิ่มพูนองค์ความรู้ที่ก่อให้เกิดคุณประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติ และนานาชาติ
PLO 5. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร การแสวงหาความรู้ การจัดเก็บ การประมวลผลข้อมูล และการนำเสนอ

Loading