หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต (สส.บ.) / (B.S.W.)

หลักสูตรระดับปริญญาตรี
ชื่อหลักสูตร หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565)
ชื่อปริญญา สังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต (สส.บ.) Bachelor of Social Work (B.S.W.)
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม เปิดสอนหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิตในปีพ.ศ.2533 จนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่า 3 ทศวรรษ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความเชี่ยวชาญ เป็นผู้ปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์วิชาชีพ

ปรัชญาของหลักสูตร
ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางศาสตร์และศิลป์ด้านสังคมสงเคราะห์ นำศาสตร์และทักษะการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ไปส่งเสริมและพัฒนาบุคคล ครอบครัว กลุ่ม ชุมชน และสังคมให้มีความเป็นอยู่ที่ดี ได้รับความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยสามารถใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานและพัฒนาระบบบริการให้ตอบสนองกับสภาพปัญหาและการเปลี่ยนแปลงของสังคม มีคุณธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ และความรับผิดชอบต่อสังคม

คุณสมบัติของผู้สมัคร
สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า

การจัดการเรียนการสอน
เวลาทำการ วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.
นอกเวลาทำการ วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.00-20.00 น.
วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.30-17.30 น.

คู่มือหลักสูต 2565
คู่มือหลักสูตร 2560

โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร 138 หน่วยกิต

 

    1. หมวดวิชาทั่วไป 30 หน่วยกิต

    1. หมวดวิชาเฉพาะ 102 หน่วยกิต
      2.1 วิชาพื้นฐานวิชาชีพ 16 หน่วยกิต
      2.2 วิชาชีพ 68 หน่วยกิต
      2.3 วิชาเฉพาะด้าน 18 หน่วยกิต
      – สังคมสงเคราะห์ครอบครัว
      – สังคมสงเคราะห์การแพทย์
      – สังคมสงเคราะห์สาธารณภัย
      – สังคมสงเคราะห์กระบวนการยุติธรรม

    1. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

อาชีพและโอกาสศึกษาต่อ
นักสังคมสงเคราะห์วิชาชีพ นักพัฒนาสังคม นักพัฒนาชุมชน นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ประสานโครงการ หรืองานที่เกี่ยวข้องในองค์กรภาคเอกชนและหน่วยงานราชการ เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงกลาโหม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
• องค์การสังคมสงเคราะห์และพัฒนาเอกชน (NGOs) เช่น มูลนิธิและสมาคมต่างๆไม่ต่ำกว่า 3,000 องค์กร
• องค์การระหว่างประเทศ เช่น UNICEF/ UNHCR/ UNDP เป็นต้น
• ประกอบอาชีพอิสระ เช่น กิจการดูแลผู้สูงอายุ/เด็ก และสถาบันส่งเสริมครอบครัว เป็นต้น
• สามารถศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นทั้งในและต่างประเทศ

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร ประมาณการ 299,950 บาท

ทุนการศึกษา
o กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
o มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีทุนการศึกษาหลายประเภทสำหรับนักศึกษาที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด เช่น ทุนกระจายโอกาส ทุนส่งเสริมการศึกษา รางวัลกาญจนาภิเษก กองทุนช่วยเหลือนักศึกษายากจน ขาดแคลนหรือประสบภัยพิบัติ เป็นต้น

ผลลัพธ์การเรียนรู้ (PLOs) หลักสูตร สส.ม.
PL0 1 ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสังคมสงเคราะห์
PLO 2 อธิบาย วิเคราะห์ สังเคราะห์ ยกตัวอย่าง และวิพากษ์ความรู้ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ ทฤษฎี พฤติกรรมศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ กฎหมาย มาตรการ การบริหารสวัสดิการสังคม นโยบายสังคมและสวัสดิการสังคม
PLO 3 ประยุกต์ใช้ความรู้ภาคทฤษฎีและทักษะในการประเมิน วางแผน ดำเนินงานการบริหารสวัสดิการสังคมรายกรณีและการบริหารงานสวัสดิการสังคม การติดตามประเมินผลลัพธ์ และดำเนินการวิจัย
PLO 4 ปรับปรุงพัฒนางานโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และคอมพิวเตอร์ในการสืบค้น การนำเสนอการจัดเก็บและประมวลข้อมูลเพื่อการบริหารงานสวัสดิการสังคม การบริหารสวัสดิการสังคมรายกรณี และการวิจัย ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้ดี
PLO 5 ปฏิบัติงานบทบาทนักสังคมสงเคราะห์ด้านการบริหารงานสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์รวมถึงการบริหารสวัสดิการสังคมรายกรณี การนิเทศงานในหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรภาคประชาสังคม กลุ่มวิสาหกิจเพื่อสังคม และองค์การระหว่างประเทศ